หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ความรู้เบื้องต้นงานกราฟิก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ความรู้เบื้องต้นงานกราฟิก
ความรู้เบื้องต้นงานกราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ การตกแต่งแก้ไขภาพ หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ การตกแต่งภาพถ่าย การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพหรือกราฟ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านธุรกิจ งานด้านการออกแบบ งานด้านบันเทิง หรืองานด้านการแพทย์ เป็นต้น
กราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
กราฟิก มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) กราฟิก จึงหมายถึง ศิลปะหรือศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่สื่อความหมายโดยใช้เส้น ภาพเขียน สัญลักษณ์ ภาพถ่าย ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที และถูกต้องตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ การตกแต่งแก้ไขภาพ หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ การตกแต่งภาพถ่าย การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพหรือกราฟ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านธุรกิจ งานด้านการออกแบบ งานด้านบันเทิง หรืองานด้านการแพทย์ เป็นต้น
หลักการทำงานของภาพกราฟิก
หลักการทำงานของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ (Raster) หรือบิตแมพ (Bitmap)
ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) มีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย ดังนั้นภาพแบบราสเตอร์มีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการสร้างสีหรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงามน
ข้อเสีย คือ หากมีการขยายขนาดภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนจุดสีให้กับภาพ ส่งผลให้คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไปความละเอียดของภาพจะลดลงมองเห็นภาพเป็นแบบ จุดสีชัดเจนขึ้นไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมากตามไปด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบราสเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Paintbrush โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 1.1
ภาพที่ 1 ภาพแบบราสเตอร์
ที่มา www.krukikz.com
2. ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ (Vector)
ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการประมวลผลโดยอาศัยหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีสีและตำแหน่งที่แน่นอน ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือรูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพ จะไม่ลดลง เช่น ภาพการ์ตูนเมื่อถูกขยายภาพออกมา ภาพที่ได้ก็จะยังคงรายละเอียดและความชัดเจนไว้เหมือนเดิม และขนาดของไฟล์ภาพจะมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบราสเตอร์ โปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบเวคเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Illustrator โปรแกรม CorelDraw เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 2
ภาพที่ 2 ภาพแบบเวคเตอร์
ที่มา www.krukikz.com
ประเภทของภาพกราฟิก
ประเภทของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ
เป็นภาพกราฟิกที่มีแต่ความกว้างและความยาว แต่จะไม่มีความหนาหรือความลึก ได้แก่ ภาพสามเหลี่ยม ภาพสี่เหลี่ยม ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด เป็นต้น โดยทั่วไปเรียกภาพกราฟิกประเภท 2 มิติว่า ภาพร่าง ดังแสดงในภาพที่ 3
ภาพที่ 3 ภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ
ที่มา www.krukikz.com
2. ภาพกราฟิกประเภท 3 มิติ
เป็นภาพที่เกิดจากการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ ภาพที่ได้จะมีลักษณะเหมือนภาพที่มองจากตาคน โดยภาพกราฟิกประเภท 3 มิติจะมีส่วนโค้ง เว้า มุม แสง ความลึกและรายละเอียดที่สูงขึ้นจากภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ มีลักษณะการมองภาพที่เหมือนจริง ดังแสดงในภาพที่ 4
ภาพที่ 4 ภาพกราฟิกประเภท 3 มิติ
ที่มา www.krukikz.com
ความแตกต่างของภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์และแบบเวคเตอร์
ความแตกต่างของภาพกราฟิก 2 มิติ แบบราสเตอร์และเวคเตอร์ ดังแสดงในตาราง
คุณค่าของงานกราฟิก
การนำกราฟิกไปใช้ในงานด้านต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้งานนั้นน่าสนใจ สร้างความแปลกใหม่ให้แก่ผู้พบเห็น ซึ่งคุณค่าของงานกราฟิกนั้นสามารถแบ่งได้ดังนี้
เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
จดจำง่ายและน่าสนใจ
งานนำเสนอมองดูน่าติดตามและเข้าใจง่าย
เป็นสื่อกลางเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
เกิดความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่